วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Slur = สะเลอ


สะเลอ (Slur)
วงดนตรีสัญชาติไทย การรวมตัวกันของ 5 หนุ่มที่มีใจรักในแนวเพลงสไตล์ “Rock N' Roll” โดยพวกเขาได้ผสมผสานความเป็น Rock และ Pop เข้าไว้ด้วยกันจนเกิดเป็นเพลงทางเลือกใหม่ที่ฟังง่าย ฟังสนุก และพ่วงความหฤหรรษ์ ด้วยการแทรกเสียงเครื่องเป่าทองเหลืองอย่าง “ ทรัมเป็ต ” เข้าไปไว้ในบทเพลงของพวกเขา เพื่อช่วยเพิ่มสีสัน ความสนุก และจังหวะที่ชวนให้ต้องขยับแข้งขยับขาเต้นรำเป็นอย่างยิ่ง บวกกับความตั้งใจจริงด้วยการ Produce เพลงของพวกเขาเองทั้งหมด ทั้งเนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียง ด้วยการแสดงสดแบบสุดมันส์ ปนความสนุกสนานของจังหวะดนตรีที่คึกคัก ชวนเต้นรำในสไตล์ ROCK N' ROLL จนเข้าตาถูกแนวทางของค่ายเพลงอย่าง
สมอลล์รูม คว้ามาเป็นศิลปินในสังกัด ด้วยลีลา และภาพลักษณ์ที่สะดุดตา ทั้ง แนวทางงานเพลง บวกกับบุคลิกท่าทางในสไตล์ส่วนตัวของแต่ละคน ที่เรียกได้ว่าสุดๆ แบบไม่ยอมใคร
ประวัติวงสะเลอ
ในปี พ.ศ. 2548 เย่ นักร้องนำ และ เอม มือกลอง ได้พบกันที่บ้านเพื่อนเพื่อเล่นดนตรีและได้ดู
มิวสิกวิดีโอ Last Night ของวงสโตรกส์ จากนั้นทั้งสองจึงตกลงทำเพลงที่ง่ายแต่เล่นเทคนิคเสียงมาก โดยตั้งชื่อโปรเจกว่า เดอะเซฟพาร์ ทั้งสองคนได้ทำดนตรีและวางจำหน่ายในงานแฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 3 จำนวน 50 แผ่น ซึ่งขายหมด ต่อมาเอมได้ชวน กาหลิบ เพื่อนสมัยมัธยมมาทำดนตรีด้วยกันโดยเป็น มือเบส
กาหลิบ ได้แนะนำให้ทั้งสองได้รู้จัก แบงค์ มือทรัมเปต ซึ่งได้เข้าเป็นสมาชิกของวงตามความสนใจของ เย่ ที่อยากมีเสียงทรัมเปตในเพลงเมื่อมีสมาชิกสี่คนแล้ว วงจึงทำเดโมเพื่อเล่นในคอนเสิร์ต ไลฟ์ อิน อะเดย์ จัดโดยนิตยสารอะเดย์ ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่เปิดโอกาสให้วงดนตรีต่างๆ นอกกระแสหลักได้แสดงสดบนเวทีใหญ่ และมีการขายซีดีเดโมในงานด้วย โดย แบงค์ เป็นผู้ตั้งชื่อวงเพื่อใช้บนปกซีดี ชื่อวงอิงจากคลาสทรัมเปตที่แบงค์เรียน และสอดคล้องกับคำในภาษาไทยที่แปลว่าคนที่ไม่ค่อยได้เรื่องราว วงมีโอกาสแสดงในไลฟ์ อิน อะเดย์ ครั้งที่ 2 แต่เกิดฝนตกทำให้ไม่สามารถแสดงได้ แต่อะเดย์ได้นำเพลงของวงซึ่งต่อมาชื่อว่า "A Day" รวมในอัลบั้มอะเดย์ 3 เพลงนี้จึงเป็นเพลงแรกของวงที่ได้วางจำหน่าย จากนั้น เย่ ได้พบกับ เป้ ที่ห้องซ้อมดนตรีแห่งหนึ่งและได้ชวนเป้เข้าเป็นสมาชิกวง เมื่อ เป้ ฟังการซ้อมของวงที่ บ้านกาหลิบ จึงตัดสินใจเป็นมือกีตาร์ของวงและวงได้ย้ายสถานที่ซ้อมมายังบ้านของ เป้ ต่อมา กาหลิบ ได้แยกตัวออกไปทำงานและ บู้ ได้รับคัดเลือกเป็นมือเบสของวงแทน กาหลิบ วงที่มีสมาชิกห้าคนได้แสดงตามงานในมหาวิทยาลัยและงานดนตรีนอกกระแสหลักต่างๆ ควบคู่กับการทำเดโมเพลง พวกเขาได้ส่งเดโมเพลงไปตามค่ายเพลงต่างๆ รวมทั้ง สมอลล์รูม แม้ในคราวแรกทางค่ายจะเห็นว่าเดโมเพลงที่สะเลอส่งมานั้นมีจุดบกพร่องอยู่บ้างแต่ทางวงก็ได้ส่งเดโมชุดที่สองไปอีก และในคราวนี้ทางค่ายได้ให้โอกาสวงในการร่วมทัวร์คอนเสิร์ตของค่าย วงเริ่มเป็นที่จับตามองในฐานะคลื่นลูกใหม่ของวงการเพลงนอกกระแสหลักของไทย ต่อมา สะเลอ ได้ออกอัลบั้มเต็มชุดแรก boo! เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และวงเริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้างนับต้งแต่บัดนั้น จากนั้นในต้นปี พ.ศ. 2551 วงได้รับเชิญจาก Noisedeluxe records ประเทศเยอรมัน ให้ไปแสดงคอนเสิร์ตและนำผลงานไปจำหน่าย และในช่วงปลายปีได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง bum โดยมีสมาชิกเพียงสี่คน คือ เย่ เอม เป้ และบู้
ฟังเพลงสะเลอ http://radio.sanook.com/artist/profile/SLUR/16761
ขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Tattoo Colour = ศักดิ์ศรี




















Tattoo Colour

เป็นวงดนตรีสัญชาติไทยที่เล่นดนตรีแนวป็อปและอีซี่ลิสเท็นนิ่งโดยมี สมอลล์รูมเป็นค่ายต้นสังกัด ขณะนี้พวกเขาออกอัลบั้มมาหนึ่งอัลบั้มด้วยกันคืออัลบั้ม Hong Ser ที่มีอยู่สิบเพลงด้วยกันบวกกับอีกหนึ่งโบนัสแทร็ค เล่นเพลง "แพ้คนสวย" (คัฟเวอร์ของวงฟลาย) ในอัลบั้มสนามหลวงคอนเนคท์ส (Sanamluang Connects) และ อยู่เป็นหนึ่ง (กลุ่ม) ในศิลปิน ECO-9 Project Band ที่มีจุดประสงค์ในการรณรงค์เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยเล่นเพลง "เปลี่ยน" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
  • สมาชิก
  • หรินทร์ สุธรรมจรัส (ดิม) - ร้องนำ
  • รัฐ พิฆาตไพรี (รัฐ) - กีต้าร์
  • เอกชัย โชติรุ่งโรจน์ (ตง) - กลอง
  • ธนบดี ธีรพงศ์ภักดี (จั้มพ์) - เบส

ประวัติก่อนที่จะมาเป็น แทททู คัลเล่อร์ สมาชิกในวงสามคนได้แก่ หรินทร์, รัฐและเอกชัย มีวงเป็นของตนเองกับเพื่อนๆ อีกสามคนรวมเป็นหกคนสมัยที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โดยมีชื่อวงว่า "I Scream 479" และยังทำอัลบั้มขายในโรงเรียนด้วยตนเองต่อมาเมื่อสำเร็จการศึกษาสมาชิกในวงก็แยกย้ายกันไปศึกษาต่อก็เหลือ หรินทร์, รัฐและเอกชัย อยู่สามคนที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้วยกันที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อมีการประกวดแต่งเพลงโฆษณาของแฮปปี้ พวกเขาก็ลงสมัครและชนะการประกวด ทำให้พวกเขาได้ไปดูงานที่ค่ายเพลงแนวกึ่งอินดี้ "สมอลล์รูม" ที่ๆ พวกเขาได้ขอออดิชั่น และได้เป็นศิลปินของค่ายสมอลล์รูมในที่สุด ต่อมาจึงดึง ธนบดีเข้ามาเป็นมือเบส และตั้งวงแทททู คัลเล่อร์ขึ้นมา อัลบั้มแรกที่พวกเขาทำออกมามีชื่อว่า Hong Ser ซึ่งซิงเกิ้ลเปิดตัวอย่าง "ฟ้า" และ"ฝากที" ได้รับการตอบรับอย่างคาดไม่ถึง ส่งผลให้พวกเขาปล่อยซิงเกิ้ลใหม่ๆ ออกมา ได้แก่ "เกาะร้าง ห่างรัก", "One Night Stand" และ "รอยจูบ" ซึ่งทุกซิงเกิ้ล สามารถติดชาร์ท Fat 40 ของแฟตเรดิโอได้ทั้งหมด ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ค่ายเพลงสมอลล์รูม ต้นสังกัดของพวกเขา ก็ได้ประกาศผ่านทางเว็บไซต์ว่า อัลบั้มที่สองของแทททู คัลเล่อร์ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยอัลบั้มใหม่นี้มีชื่อว่า "ชุดที่ 8 จงเพราะ" โดยอัลบั้มชุดใหม่นี้ยังคงความเป็นเพลงป๊อปหลายหลาย (Variety pop) ดังเช่นอัลบั้มที่แล้ว และได้ปล่อยซิงเกิ้ลและมิวสิควีดีโอเพลงแรกออกมาคือเพลง "ขาหมู" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจนสามารถขึ้นสู่อันดับหนึ่งของ 97.5 Seed FM ได้อย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยซิงเกิ้ลที่สอง (พร้อมกับมิวสิควีดีโอ) คือเพลง "จำทำไม" ที่สร้างกระแสตอบรับดีเช่นเดียวกัน และสามารถติดอันดับหนึ่งของชาร์ท Fat 40 เป็นเวลาถึง 3 สัปดาห์ นอกจากนี้ อัลบั้ม "ชุดที่ 8 จงเพราะ" ยังติดอันดับอัลบั้มขายดีตามร้านขายซีดีต่างๆ เช่นร้าน DJ Siam, ร้านน้องท่าพระจันทร์ ฯลฯ (อ้างอิงจากนิตยสาร DDT ฉบับที่ 40) อีกด้วย ทำไมถึงชื่อ ชุด 8 เพราะว่าไม่มีเวลาทำ ชุดที่ 2-7 เลยทำชุดที่ 8 ก่อน 555

เกร็ดน่ารู้ ชื่อวงมาจากการแปลงคำตรงๆ จากภาษาไทยไปเป็นภาษาอังกฤษ โดยคำว่า "แทททู" (Tattoo) แปลว่ารอยสัก และคัลเล่อร์ (Colour) แปลว่าสี เมื่อรวมกันจึงกลายเป็นคำว่า "ศักดิ์ศรี" นั่นเอง อัลบั้มแรกของพวกเขา Hong Ser เมื่อผวนแล้วจะอ่านว่า Her Song ซึ่งแปลว่า "เพลงของเธอ" นั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dontreeza.com

Smallroom ค่ายเพลงอินดี้ไทย

Smallroom - ห้องเล็ก




เริ่มสร้างงานในปี 1999 โดยมีจุดประสงค์ ที่จะผลิตงาน เพลงสำหรับสื่อโฆษณาทุกประเภท ซึ่งในขณะ นั้นผู้ร่วมก่อตั้งประกอบไปด้วย นายรุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ และ นายนิตินาท สุขสุมิตร โดยที่ยังไม่มีชื่อบริษัทหรือทำการจดทะเบียนใดๆ หลังจากนั้น ประมาณ 8 เดือน นายเจตมนต์ มละโยธา ก็ได้เข้ามาร่วมงาน และผู้ร่วมก่อตั้งทั้งหมดจึงเริ่มคิดที่จะทำงานอัลบั้มเป็นชิ้นแรกขึ้นมา และนี่ก็คือจุดเริ่ม ของชื่อบริษัท สมอลล์รูม


"smallroom" was informally started in1999 by a group of friends who had same intentions and directions in musicappreciation. After producing music scores for advertisments, we decidedto release our own compilation albumunder the genre of international pop.From then on, "smallroom co.,ltd." was established.






ปัจจุบัน บริษัท สมอลล์รูม จำกัด ได้จดทะเบียนบริษัทถูกต้องตามกฏหมายแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบไปด้วยผู้บริหารดังต่อไปนี้คือ รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ เจตมนต์ มละโยธา เชาวเลข สร้างทุกข์นายขุนแผน (สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ชิสุ ที่รับตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท)


smallroom' are

Rungroche Uptampotiwat
Jetamon Malayota
Chaowalek Srangtook
Khunpann (the shih-tzu is our managing director).

ติดต่อบริษัท สมอลล์รูม จำกัด
เลขที่ 3 ซอยเจริญมิตร ถนนสุขุมวิท63 แขวงคลองตันเหนือ
ขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 ประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2714-1761, 0-2714-4423
แฟกซ์ 0-2714-1761, 0-2714-4423 กด 8


Site http://www.smallroom.co.th E-Mail smalltalk@smallroom.co.th

เพลงอินดี้ คืออะไร ?


“เพลงอินดี้” เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ว่า เพลงอินดี้คืออะไร? หมายถึงอะไร? โดยรากศัพท์ เพลงอินดี้ มาจากคำว่า Independent หมายถึง อิสระ ดังนั้นตามความหมายแล้ว เพลงอินดี้ หรือดนตรีอินดี้ก็คือดนตรีที่ผู้ผลิตคิดเองและทำเองอย่างมีอิสระ ปัจจุบันคำว่า เพลงอินดี้ ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปทำความรู้จักกับแฟนเพลงที่เบื่อดนตรีแนวเดิมๆ อยากหาสิ่งแปลกใหม่ เพลงอินดี้ (อิสระ) มาจากวงดนตรีอิสระ และนักดนตรีอิสระ (Independent Music from Independent Bands and Independent Musicians) น่าจะเป็นคำจำกัดความของความเป็น “อินดี้” ที่รวบรัด ต้นกำเนิด “เพลงอินดี้” เกิดขึ้นมาจากในยุคหนึ่งของวงการเพลง มีแต่แนวดนตรีสไตล์เดิมๆ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่มีรสนิยมการฟังเพลง ไม่ชอบอะไรซ้ำซาก คนกลุ่มนี้จึงพยายามแหวกแตกต่าง พูดง่ายๆ ก็คือต่อต้านกระแสหลัก หันไปทำดนตรีอะไรที่ตัวเองชอบ ทำให้ดนตรีมีแนวหลากหลายมากขึ้น แต่ทุกวันนี้คนสับสนกันมากกับคำว่า “เพลงอินดี้” จริงๆ แล้ว คำว่าอินดี้มันเป็นระบบการทำงาน ที่ว่าไม่ยึดติดค่าย มีอิสระในการทำงานสูง ไม่ใช่แนวเพลงใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนคนสับสนคิดว่า Chill Out คือชื่อแนวเพลง ซึ่งความจริงมันเป็นอารมณ์ต่างหาก ดังนั้นเพลงอินดี้ อาจเป็น แร๊ป ร๊อค ฮิปฮอป อิเล็คโทรนิก้า ดรัมแอนเบส ดั๊บ เฮฟวี่เมทัล ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่อินดี้…เพราะเพลงอินดี้คือชื่อระบบการทำงาน เมื่อดูจากความเป็นมา ดนตรีอินดี้ ได้มีส่วนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดนตรีไปตลอดกาล และพร้อมที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าในทุกยุคสมัย เพลงอินดี้ คือนักร้องหรือวงดนตรีที่ทำงานในการสร้างสรรค์ดนตรีและบทเพลงออกมาจากมันสมองอย่างหนักเหนื่อย แต่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ไม่เคยสนใจ วิทยุก็ไม่เคยเปิดเพลงให้ เพราะเป็นศิลปินหน้าใหม่ไม่มีชื่อเสียง และถ้าอยู่ภายใต้สังกัดค่ายเพลงอินดี้เป็นอิสระด้วยตัวเองยิ่งไม่มีทางเลย เพราะมีเพียงบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่มีอำนาจควบคุมตลาดเพลงอยู่ สาเหตุหนึ่งเพราะพวกเขาได้ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมเพลงและธุรกิจในสายนี้ขึ้นมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก จนทำให้เป็นองค์กรทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุด หากดูความหมายดั้งเดิม “เพลงอินดี้” หมายถึง งานเพลงของวงดนตรีที่ออกกับค่ายเพลงอิสระ แต่ปัจจุบันได้แปรผันเป็นแนวดนตรีที่ออกกับค่ายยักษ์ใหญ่ก็ได้ โดยตลาดจะเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหรือผู้ใหญ่ที่ต้องการฟังสิ่งที่ดีและใหม่กว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่กระแสหลัก และไม่เดินตามก้นคนอื่น ไม่ใส่ใจในบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในเวลาเดียวกัน อยู่เหนือทุกๆ สิ่งที่จริงแล้ว ขอบข่ายของ “Independent” ที่ใช้กันบ่อยแบบหยาบๆ กว้างๆ มีหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลงแยกย่อยของบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นอิสระไปทั้งหมด หรือเป็นค่ายเพลงเล็กๆ ในบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่เช่นกัน แต่เจาะจงทำขึ้นมาเพื่อรองรับศิลปินระดับซูเปอร์สตาร์เป็นกรณีพิเศษเท่านั้น หรือค่ายเพลงอิสระที่อาศัยเครือข่ายการบริหารจัดการและจัดจำหน่ายของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ หรือ ค่ายเพลงที่เรียกดนตรีของตัวเองว่า อินดี้ มิวสิค ซึ่งอาจจะมีระบบที่เป็นแบบค่ายเพลงยักษ์ใหญ่หรือแบบค่ายเพลงอิสระก็ได้ หรือค่ายเพลงอิสระที่แตกต่างกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่หรือกระแสหลักแบบจริงๆ เพราะโดยหลักของความเป็นอิสระหรืออินดี้แล้ว ไม่ได้ตั้งแง่รังเกียจอุตสาหกรรมดนตรี เพียงแต่ต้องการเป็นนายของตัวเอง และหลีกเลี่ยงระเบียบแบบแผนที่ของบริษัทเพลงซึ่งใช้กันอยู่ประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนหรือการเข้ามาบังคับกะเกณฑ์ในตัวงาน การใช้บริการของหน่วยธุรกิจใหญ่ๆ บางครั้งก็จะช่วยให้ทำในสิ่งที่ต้องการให้มีความเป็นไปได้ และยืนอยู่ในฐานะอิสระ เพราะ ‘อินดี้’ ไม่ใช่คำที่เคร่งครัดตายตัวศิลปินอินดี้ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน DIY (Do-It-Yourself) คือศิลปินทำดนตรีและงานเพลงด้วยตัวของพวกเขาเองและนั่นคือ อินดี้

ขอขอบคุณ Kapook.com และ วิชาการ.com